ประวัติ ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. กระทรวงศึกษาธิการ 2518 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 8 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศเป็นประกาศกระทรวง แบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นมีสถานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคามโดบในอดีตคณะฯ ได้แบ่งส่วนราชการในรูปคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

  1. ภาควิชาภาษาไทย
  2. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
  3. ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  4. ภาควิชาดนตรีศึกษา
  5. ภาควิชาภูมิศาสตร์
  6. ภาควิชานาฏศิลป์
  7. ภาควิชาประวัติศาสตร์
  8. ภาควิชาศิลปศึกษา
  9. ภาควิชาสังคมวิทยา
  10. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
  11. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[1] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ส่งผลให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม แปรสภาพเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม”[2]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[3] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[4]

ใกล้เคียง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา